วันอาทิตย์, ตุลาคม 08, 2560

ชวนรู้จัก "บุ๋ม BOOM MOSBY" นักต่อสู้ด้านสิทธิ ได้รับรางวัล 2017 TIP Heroes (Trafficking in Persons Report Heroes) ที่ อิวานกา ทรัมป์ อยากพบ






Each year, the Department of State honors individuals around the world who have devoted their lives to the fight against human trafficking. These individuals are NGO workers, lawmakers, police officers, and concerned citizens who are committed to ending modern slavery. They are recognized for their tireless efforts—despite resistance, opposition, and threats to their lives—to protect victims, punish offenders, and raise awareness of ongoing criminal practices in their countries and abroad. For more information about current and past Trafficking in Persons Report Heroes, including how to connect with them, please visit the Trafficking in Persons Report Heroes Global Network at www.tipheroes.org.

...

BOOM MOSBY
Thailand , Class of 2017

Boom Mosby, the founder and director of the HUG Project, is a passionate advocate for child victims of sexual abuse in Thailand and has been instrumental in the advancement of a victim-centered approach in Thai anti-trafficking efforts.

Ms. Mosby’s early work with the HUG Project included a partnership with the Royal Thai Police to provide educational and support services for at-risk children in the city of Chiang Mai. As Ms. Mosby’s involvement with child trafficking investigations deepened, she developed key relationships with law enforcement, government officials, and NGO partners, establishing a network of resources and support for child victims.

In 2015, she played a fundamental role in opening the Advocacy Center for Children Thailand (ACT House) in Chiang Mai—the first child advocacy center in all of Southeast Asia. Under Ms. Mosby’s leadership, the ACT House has supported more than 81 investigations and the arrest of more than 20 perpetrators. In 2016, she joined the Thailand Internet Crimes Against Children Task Force and continues to work tirelessly to develop standard operating procedures for investigating and prosecuting cybercrimes against children using a victim-centered approach. As the use of the internet to facilitate child trafficking grows, Ms. Mosby is battling technology with technology by implementing IT forensics and other systematic strategies.

Ms. Mosby continues to promote prevention, recovery, and reintegration programs for survivors and those vulnerable to trafficking.

Source:  State Department and TIP Heroes.org

ooo


รู้จัก บุ๋ม ที่ อิวานกา ทรัมป์ อยากพบ





ชวนดูคลิปของ ฺฺBBC Thai ได้ที่ลิงค์ข้างล่าง...

http://www.bbc.com/thai/thailand-41525772


นันท์ชนก วงษ์สมุทร์
ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
7 ตุลาคม 2017

บุ๋ม วีรวรรณ มอสบี้ นักต่อสู้กับการค้ามนุษย์ที่ได้รับรางวัล นักต่อสู้ด้านการค้ามนุษย์ (Trafficking in Persons Report Heroes) จากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ไม่ได้มีภูมิหลังด้านสิทธิมนุษยชนแต่อย่างใด หากแต่เธอซึมซับเรื่องสิทธิมุนษยชนมาจากวรรณกรรมของสหรัฐฯ ที่ได้อ่านมาเมื่อเรียนปริญญาโท

เคสแรก:เด็กสาวที่หลงทาง

เสียงโทรศัพท์ที่ดังขึ้นตอนกลางคืนในบ้านเช่าหลังหนึ่งใน อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเด็กสาววัยรุ่น 5 คนซึ่งอาศัยอยู่ในบ้านนั้นจะต้องเริ่มทำงานแล้ว หนึ่งในนั้นก็คือ เจน (นามสมมุติ) เด็กที่หนีออกบ้านและต่อมาถูกชักชวนให้เข้าสู่วงจรการค้าประเวณี

เมื่อตอนที่บีบีซีพบกับเธอ เจนเล่าว่าเธอหนีออกจากบ้านเมื่อ 6 ปีก่อน ตอนที่อายุเพียง 13 ปีเท่านั้น จากปัญหาที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากผู้ปกครอง เมื่อเร่ร่อนอยู่พักหนึ่งจึงได้ถูกชักชวนให้เข้ามาทำงานนี้ และเธอก็ยินยอมเพราะเห็นมีรายได้ดี

"ถ้ามีคนโทรมา แล้วแต่ใครจะออกไป [มีเพศสัมพันธ์] รอบหนึ่งไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท" เจนกล่าวกับบีบีซีไทย


JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI
"เจน" คือเหยื่อของการค้ามนุษย์คนแรกที่วีรวรรณได้ทำงานด้วย


เจนทำงานดังกล่าวได้ประมาณครึ่งปี จนกระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเชียงใหม่ที่กำลังสืบสวนกรณีค้ามนุษย์ในจังหวัดเรียกไปสอบสวนหาข้อมูล และตำรวจก็ได้แนะนำเธอให้รู้จักกับวีรวรรณซึ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการทำงานต่อต้านการค้ามนุษย์

วีรวรรณบอกว่าเมื่อได้พบกับเจน "ดูน้องเขาขาดผู้ใหญ่ที่รักและดูแล" และ"เขาอาจจะแสบ แต่เราเห็นว่าลึกๆ เขาก็มองหาความรักและการปกป้องจากผู้ใหญ่" เธอเล่าให้บีบีซีไทยฟัง


 
JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI


วีรวรรณเริ่มจากการหาบ้านรับอุปการะให้เจน เพื่อที่ว่าเจนจะได้หลุดออกมาจากวงจรค้ามนุษย์ บางครั้งก็ให้เจนมาอยู่ที่บ้านของตัวเอง หลังจากนั้นก็ได้พาเจน ผู้เสียหายการค้ามนุษย์คนแรกที่เธอได้ทำงานด้วย ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ แต่ประสบการณ์ที่ได้กลับทำให้เธอตั้งคำถามถึงระบบการทำงาน



"ก็ต้องพาน้องเขาไปนั่งในห้องที่ตำรวจเต็มแล้วมีคนมาแจ้งความหลายๆ คดี แล้วน้องเขาก็จะถูกถามว่าใครเปิดกระโปรงหนู ใครละเมิดหนูยังไง ตอนนั้นมันก็ฝังใจว่าทำอะไรได้ดีกว่านี้ไหม" วีรวรรณกล่าว

ความฝังใจเปลี่ยนเป็นความตั้งใจอย่างแรงกล้า วีรวรรณได้ร่วมก่อตั้งศูนย์ช่วยเหลือเด็ก Advocacy center Thailand หรือเรียกสั้นๆ ว่า ACT (และภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น Child Advocacy Center หรือ CAC) ที่ จ.เชียงใหม่ในปี 2558 นับเป็นศูนย์ช่วยเหลือเด็กเพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์แห่งแรกในประเทศไทยที่มีตำรวจมาประจำอยู่และมีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดตลอดมา ซึ่งเป็นรูปแบบที่นำมาจากสหรัฐฯ ที่แต่ละรัฐจะต้องมีศูนย์ช่วยเหลือเด็กที่มีตำรวจประจำเช่นนี้อยู่ด้วย

และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมาวีรวรรณได้ช่วยเหลือเยาวชนจากวงจรค้ามนุษย์อีกกว่าร้อยชีวิต

พื้นที่ปลอดภัย




JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI
เด็กที่มาที่ศูนย์ฯ จะมีนักจิตวิทยาคอยให้คำปรึกษา


ศูนย์แห่งนี้จะไม่เป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปมากนัก เนื่องจากไม่เปิดเผยสถานที่ตั้งและเบอร์โทรศัพท์ แต่สำหรับผู้ที่ได้ก้าวเข้ามาในเขตพื้นที่ของศูนย์แล้ว ป้ายแรกที่จะเห็นคือ "บุคคลภายนอกห้ามเข้า" สื่อสารว่าเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก

แม้เด็กที่เป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ หรือการล่วงละเมิดทางเพศ จะสมัครใจที่จะให้ข้อมูลกับทางศูนย์ แต่ว่าการจะเล่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ง่ายเลย

ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ ซึ่งเป็นทั้งห้องให้คำปรึกษาและสัมภาษณ์ทางนิติวิทยาศาสตร์ เจ้าหน้าที่ของศูนย์จะใช้วิธีต่างๆ อย่างเช่น ศิลปะหรือของเล่นมาช่วยให้เด็กสามารถการบรรยายความรู้สึกตัวเองออกมา ตุ๊กตาในกระบะทรายถูกใช้เป็นแบบจำลองในการเล่าเรื่อง และหากเป็นเด็กเล็กๆ วีรวรรณจะให้เด็กดูรูปแล้ววาดวงกลมในส่วนของอวัยวะที่ถูกจับต้อง



JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI
ตุ๊กตาในกระบะทรายถูกใช้เป็นแบบจำลองในการเล่าเรื่อง


บางครั้งจะมีพนักงานสอบสวนเฉพาะของศูนย์นั่งอยู่บนพื้น ในขณะที่เด็กนั่งบนโซฟา เพื่อจะทำให้เด็กๆ คลายความกลัวลง

"ตำรวจที่นั่งอยู่ตรงนี้ต้องก้าวข้ามวัฒนธรรมได้ เด็กนั่งสูงกว่าผู้ใหญ่" วีรวรรณกล่าว

เด็กที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศและค้ามนุษย์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์ CAC จะถูกส่งต่อมาจากมูลนิธิเครือข่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กเร่ร่อนที่เป็นผู้ชาย เนื่องจากผู้ต้องหาส่วนใหญ่เป็นผู้ชายที่ชอบผู้ชายและเด็กเล็กๆ อายุ 5-6 ขวบ โดยจะใช้วิธีจับเด็กถ่ายรูป และแชร์ต่อกันไปผ่านสื่อออนไลน์ สำหรับกรณีการค้ามนุษย์ มักจะเป็นในลักษณะที่เหยื่อถูกนายหน้าชวนไปขายบริการ

"ผู้เสียหายส่วนใหญ่เขาไม่รู้ว่าตัวเองเป็นผู้เสียหาย เพราะฉะนั้นการทำงานกับเขาต้องสร้างความไว้ใจ อย่างเด็กหลายคนเขาก็รู้สึกกตัญญูกับคนที่พาเขาไปค้ามนุษย์ เราต้องให้ความอดทนและไว้ใจกับเขามาก ทำงานนาน โดยเฉพาะ ทำยังไงที่เราจะเชื่อมเขาให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตรงนี้เป็นข้อท้าทาย" วีรวรรณกล่าว



JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI


วีรวรรณกล่าวว่าการทำงานกับเด็กๆ กลุ่มนี้ต้องเริ่มด้วยการสร้างความผูกพันรวมทั้งสอนให้รู้จักการให้อภัย มีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ใช้ทฤษฏีทางด้านจิตวิทยาอย่างทฤษฎีความผูกพัน รวมทั้งใช้แนวทางบำบัดแบบเดียวกับผู้ที่ติดยาคือค่อยๆ ให้คิดเปลี่ยนแปลงตัวเองไปทีละขั้น

ส่วนในคดีที่เด็กถูกละเมิดทางเพศ จะมีอายุตั้งแต่สามขวบครึ่งจนถึง 18 ปี โดยเป็นการแจ้งจากมูลนิธิต่างๆ หรือจากคนในครอบครัว เนื่องจากผู้เสียหายไม่กล้าที่จะไปหาเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตรง ซึ่งศูนย์ CAC จะช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจในงานสืบสวนสอบสวนเพื่อที่จะไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการทำงานช่วยเหลือเด็ก และจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลตั้งแต่ในชั้นสืบสวนจนกระทั่งวันที่จบในชั้นศาล หลังจากนั้นจะให้พบนักจิตวิทยาของศูนย์อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ตำรวจกับเอ็นจีโอ

ย้อนกลับไปสมัยที่วีรวรรณเรียนปริญญาตรีสาขาวรรณคดีอังกฤษที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การอ่านท่องในโลกวรรณกรรมทำให้เธอคุ้นเคยกับแนวคิดเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่สะท้อนออกมาจากงานเขียนต่างๆ โดยแรงกระตุ้นส่วนหนึ่งมาจากเรื่อง The Bluest Eye ซึ่งเขียนเกี่ยวคนผิวดำที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเธอได้อ่านช่วงที่เรียนปริญญาโท คณะการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ ที่มหาวิทยาลัยพายัพ

"ช่วงหลังเห็นค้ามนุษย์เริ่มบูม เลยสนใจประเด็นนี้ ซึ่งตอนนั้นคนที่มาทำมีแต่ฝรั่ง เลยลองมาเป็นคนไทย [ที่ทำเรื่องนี้บ้าง]" วีรวรรณกล่าว



JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI


เธอเริ่มช่วยงานอยู่ที่ศูนย์พิทักษ์เด็ก เยาวชน สตรี และการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ ตำรวจภูธรภาค 5 เมื่อปี 2555 และในปีเดียวกันนั้น เธอได้ก่อตั้งโครงการ HUG ซึ่งมาจากคำว่า "ฮัก" ในภาษาเหนือ โดยโครงการดังกล่าวอยู่ภายใต้ศูนย์ CAC

ต่อมาเมื่อปี 2557 วีรวรรณไปดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกากับองค์กร Vital Voices ซึ่งเป็นเอ็นจีโอที่ทำงานเกี่ยวกับสตรี ที่นั่น เธอได้เยี่ยมชมศูนย์พิทักษ์เด็กที่เมืองดัลลัส ซึ่งเริ่มจากบ้านสองชั้นเล็กๆ และปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ประจำ 24 ชม.

แนวคิดเรื่องการที่ตำรวจมาทำงานในศูนย์ของเอ็นจีโอนี่เองที่ทำให้วีรวรรณมองว่าน่าจะตอบโจทย์กับสังคมไทยได้ดี เนื่องจากเป็นศูนย์ที่เด็กเข้ามาแล้วรู้สึกปลอดภัยเพราะไม่ใช่สถานีตำรวจ อีกทั้งเมืองไทยมีการโยกย้ายตำแหน่งบ่อย ดังนั้น แม้ว่าตำรวจในคดีอาจจะถูกย้ายไป แต่ทางศูนย์ก็สามารถให้ความช่วยเหลือเด็กได้อย่างต่อเนื่อง

ความคิดดังกล่าวนำไปสู่การพูดคุยกับ พ.ต.ท.อภิชาติ หัตถสิน ซึ่งขณะนั้นประจำอยู่ที่ศูนย์พิทักษ์เด็กฯ ทำให้ปัจจุบันศูนย์ CAC มีตำรวจที่ประจำอยู่สองคนจากศูนย์พิทักษ์เด็กฯ ซึ่งจะเข้ามาทำงานอาสาสมัครทุกวันจันทร์ถึงศุกร์


JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI


ภายหลังที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งคณะทำงานเพื่อปราบปรามอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดของเด็กและเยาวชน (Thai Internet Crimes Against Children หรือ TICAC) วีรวรรณเป็นหนึ่งในทีมที่จับคดีครอบครองสื่อลามกคดีแรกของประเทศที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 9 ธ.ค. 2558 หนึ่งวันหลังจากที่มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการครอบครองสื่อลามก

วีรวรรณเล่าว่า ตอนนี้การล่วงละเมิดทางเพศเด็กในรูปแบบออนไลน์ (online sextortion) ซึ่งหลายๆ กรณีนำไปสู่การค้ามนุษย์ด้วย จะรุนแรงมากขึ้นหากไม่มีแนวทางในการจัดการ

"เด็กเดี๋ยวนี้ 8-9 ขวบมีสมาร์ทโฟนและเด็กเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ และพ่อแม่ไม่กลั่นกรองอะไรเลย" เธอกล่าว

การยอมรับ


JIRAPORN KUHAKAN/BBCTHAI


รูปภาพของคนประมาณ 30 คนถูกติดอยู่บนสิ่งที่วีรวรรณเรียกว่า "กำแพงแห่งความน่าละอาย" หรือ "wall of shame" ในห้องทำงานของศูนย์ CAC ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ที่เข้าสู่กระบวนการทางกฎหมาย ภายใต้การทำงานร่วมกับมูลนิธิ ZOE International, TICAC และโครงการ HUG

ในปีนี้เองมีการตั้งศูนย์ CAC อีกสองที่ ที่เมืองพัทยาและที่ จ.ภูเก็ต ส่วนที่กรุงเทพฯ มีแผนที่จะเปิดศูนย์ใหญ่ภายในสิ้นปีนี้ เนื่องจากจำนวนคดีที่มีมาก

ปัจจุบันวีรวรรณเป็นเจ้าของบริษัทไอทีที่ จ.เชียงใหม่ แต่เธอก็ทุ่มเวลาให้กับงานที่ศูนย์อย่างเต็มที่โดยไม่รับเงินเดือน โดยเธอก็ยังคงหาเวลาว่างไปฝึกฝนเกี่ยวกับการให้คำปรึกษา อบรมกับสำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐ รวมถึงศึกษางานวิจัยและงานสืบสวนสอบสวน

แม้ว่าทางทีมงานจะบอกเธอล่วงหน้า 2 อาทิตย์ก่อนรับรางวัลนักต่อสู้ด้านการค้ามนุษย์ แต่วีรวรรณก็ยังรู้สึกกังวลใจ เนื่องจากก่อนหน้านั้นเธอทำงานอยู่เบื้องหลังและไม่ค่อยออกสื่อ ทำให้เธอกลายเป็นคนที่ "ไม่มีตัวตน"

"สองคือ กลัวโดนหมั่นไส้" เธอกล่าวพร้อมรอยยิ้ม



GETTY IMAGES


ในถ้อยแถลงที่เธอกล่าวตอนที่ขึ้นรับรางวัล เธอเอ่ยถึงเจน ผู้เสียหายการค้ามนุษย์คนแรกที่เธอได้ทำงานด้วย ซึ่งปัจจุบันอายุ 19 ปีและกลับเข้าไปเรียนชั้น ปวช. 3

เจนกล่าวกับบีบีซีไทยว่า เธอมีความฝันอยากจะเป็นนักสังคมสงเคราะห์ เพื่อช่วยเด็กคนอื่นที่เคยประสบปัญหาเหมือนตน

ส่วนวีรวรรณเองตั้งความหวังไว้ว่า อยากจะเป็นกระบอกเสียงให้กับผู้เสียหาย

"สังคมไทยยังไม่ยอมรับผู้เสียหายทางด้านเพศ กลายเป็นว่าผู้เสียหายเป็นคนผิด ทั้งๆ ที่มีทั้งคนซื้อบริการ ผู้พาเขาไปขาย แต่ส่วนใหญ่คำศัพท์ที่เราได้ยินก็ เด็กใจแตก เด็กขายบริการ โสเภณี ซึ่งจริงๆ แล้วเบื้องหลังเด็กกลุ่มนี้ ถ้าเราทำงานเจาะลึก เขาน่าสงสารนะคะ" เธอกล่าว "หลายคนถูกละเมิดตั้งแต่เด็ก คนไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วเด็กที่ถูกละเมิดตั้งแต่เด็ก ความต้องการทางเพศจะสูงกว่าคนปกติธรรมดา ไม่ใช่เพราะว่าเขาเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เพราะมันเกิดความผิดปกติที่เขาถูกละเมิดมา เพราะฉะนั้นเราต้องมาเป็นกระบอกเสียงให้เขา"