วันอังคาร, เมษายน 26, 2559

ตรรกะที่สอนกันที่โรงเรียนนายร้อย จปร.





เอ้า เข้าทีนิ ‘ยิ่งลักษณ์ทุกวันพุธ’ ไม่ต้องพูด ไม่ต้องฟัง อ่านอย่างเดียว แถมเขียนไปเล่ากันก็ได้

Yingluck Shinawatra บอกกล่าว และเชื้อเชิญ “ช่วงนี้พอมีเวลา ก็เลยหยิบรูปเก่าๆที่เคยไป พบว่ามีอะไรดีๆ ความรู้สึกที่ดี ที่อยากจะเล่า

เลยขอฝากคอลัมน์ ‪#‎เก็บมาเล่า‬ ที่จะลงทุกวันพุธมาให้อ่านเรื่อยๆ ค่ะ หรือท่านไหนมีอะไรดีๆ ในจังหวัดท่านก็ส่งมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ”

ไหนๆ ก็มีคน ‘ไล้ค์’ ถึงห้าล้าน ก็น่าจะไม่เพียงเป็นศูนย์กลางแจ้งสุขเท่านั้น เปิดรับระบายทุกข์ด้วยบ้างน่าจะดีนะ เพราะดูเหมือนว่านับวัน ‘ทุกข์’ ชักจะแซงหน้า ‘สุข’ เกินไปนิดแล้ว

อย่างเรื่องน้ำแล้ง ไม่นานมานี้มีข่าวลำตะคองชักจะแห้ง อาทิตย์ที่แล้วกว๊านพะเยาเริ่มขอด วันนี้บึงบอระเพ็ดน้ำลดใกล้ติดก้น เรือวิ่งไม่ค่อยจะได้ ชาวบ้านไม่สามารถหาปลาอย่างเคยมา ๕ เดือนแล้ว ต้องเปลี่ยนไปเก็บสายบัวขายเลี้ยงชีพแทน แล้วจะมีสายบัวเหลือให้เก็บไปได้อีกกี่เดือนกันล่ะ

(http://www.thairath.co.th/content/611130)






จะไปหวังอะไรกับทั่นนาโย้กนักพูดวันศุกร์ ที่ตอนนี้เลือดสีเดียวกับกำนันผู้ใหญ่บ้าน แต่สงสัยจะคนละสีกับพี่น้องประชาชนที่ตายเพราะกระสุนปืนและสไน้เปอร์ของทหารเมื่อปี ๒๕๕๓

“ระบุทหารไม่ได้สนับสนุนใคร ส่วนการสลายการชุมนุม เม.ย. ๒๕๕๓ ที่การใช้กำลังทหารเพราะเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายในการควบคุมความสงบเรียบร้อย แต่ความขัดแย้งในส่วนที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ ๒๒ พ.ค. ๕๗ ทหารใช้กำลังไม่ได้เพราะมีความขัดแย้งกันของประชาชน”

(http://news.voicetv.co.th/thailand/357027.html)

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานมอบนโยบายโครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้าน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ ที่ศูนย์ประชุมธรรมศาสตร์ รังสิต เมื่อวาน พูดเอาดีใส่ตัวอีกแหละ

“เพราะไม่เช่นนั้นประเทศก็เดินหน้าไม่ได้ รัฐบาลไม่มีอำนาจเต็ม นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีอำนาจ และตนก็ไม่ได้ไปยึดอำนาจมาจากนายกรัฐมนตรี เพราะในขณะนั้นเป็นรัฐบาลที่ไม่มีนายกรัฐมนตรี”

(http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/695739)

เออ ตรรกะแบบนี้สอนกันที่โรงเรียนนายร้อย จปร. เท่านั้น ถ้ารัฐบาลรักษาการไม่มีนายกรัฐมนตรี ไม่มีอำนาจ แล้วจะรักษาการทำ (พ่อง) ไร ตั้งใจจะบอกว่าไม่ได้แย่งมาจากยิ่งลักษณ์ กลัวไม่ติดเรทติ้งเหรอ เธอได้ ๕ ล้านไล้ค์ ทั่นได้ ๑๕๐





แต่ก็เอาเถอะ ปัญหาของทั่นมันอยู่ที่ตอนนี้คล้ายๆ ขาลงนะ เนื่องเพราะเหตุที่ อจ.ลิขิต ธีรเวคิน บอกไว้ วิกฤตทั้งหลายพวกทั่นสร้างกันขึ้นมาทั้งนั้น ที่ตำบอนเอาไว้สองปีเริ่มเห็นผลขึ้นผื่น ขั้นต่อไปจะลามเป็นแผลพุพอง แล้วอักเสบร้ายแรงถึงตายได้





ประเด็นที่ทำไม่แฟร์ เอาแต่ได้ เห็นจากที่นายวรชัย เหมะ อดีตส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ปูดว่า

“ปรากฏภาพทหารเดินแจกใบปลิวในภาคเหนือและภาคใต้ เพื่อชักชวนให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนขอถามว่าผิดพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๙ หรือไม่”

(http://www.dailynews.co.th/politics/393837)





ส่วนประเด็นขึ้นผื่น ขออาศัย ‘pick the brain’ ล้วงสมองของ Atukkit Sawangsuk อีกครั้ง มาแจง

“ร่อนแถลงการณ์ จี้รัฐเปิดพื้นที่แสดงความเห็น ปชป.-พท-NGO-อาจารย์ ร่วมลงชื่อเพียบ
http://www.matichon.co.th/news/117013

กิจกรรมที่จุฬาวันนี้น่าสนใจ อ.โคทมน่ะไม่ค่อยแปลกใจแม้บางครั้งบางเรื่องเป๋ไปบ้าง แกก็ไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารบ่อยๆ แต่ อ.ตระกูล มีชัย นี่ข้ามมาจากฝั่งค่อนขวาเลยนะ ตอนปี ๕๕-๕๖ ก็ถล่มรัฐบาลเพื่อไทย คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ ๕๐ ทั้งฉบับ





ส่วนแถลงการณ์เปิดพื้นที่แสดงความคิดเห็นนี่มีทั้ง สมชาย หอมลออ กษิต ภิรมย์ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ

เปล่า ไม่ได้บอกว่าไกรศักดิ์กลับมาเป็นประชาธิปไตย ผมเลิกเชื่อเรื่องคนพวกนี้ได้คิดได้สติกลับมาเห็นแก่สิทธิเสรีภาพตั้งนานแล้ว

เพียงแต่มันแสดงว่า คสช.ใช้อำนาจเกินเลย จนทำให้นักวิชาการหรือคนที่เคยได้ชื่อได้เสียงว่าเป็นนักสิทธินักเคลื่อนไหว ทนอยู่เฉยๆ ไม่ได้อีกต่อไป จำเป็นต้อง ‘รักษาหน้า’ รักษาชื่อไว้บ้าง”

กิจกรรมที่อธึกกิตเอ่ยถึง เป็นการถกกันที่คณะรัฐศาสตร์ หัวข้อ ‘คำถามพ่วง (ประชามติ) มีนัยอย่างไร’ โดยนาย โคทม อารียา กล่าวถึงกรณีที่ทั้งร่างรัฐธรรมนูญและคำถามพ่วงเกิดผ่านประชามติได้

“หากสองพรรคใหญ่ไม่จับมือกัน พรรคใหญ่พรรคหนึ่งก็จะไปร่วมกับพรรคเล็กและ ส.ว. ก็อาจทำให้ได้นายกฯ ที่มาจากพรรคใหญ่ หรือจากพรรคเล็ก ที่ ส.ว.ฝ่าย คสช.สนับสนุน หรือนายกฯ อาจจะเป็นคนนอกที่ คสช.เก็บไว้ไม่เผยตัวตั้งแต่ก่อนการเลือกตั้งก็ได้”

ไฮไล้ท์ของการสัมมนาที่จุฬาฯ อยู่ที่การอภิปรายของ นายตระกูล มีชัย จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ว่า

“ที่ต้องมีคำถามพ่วง น่าจะเกิดจากการปรับแก้ร่างรัฐธรรมนูญของ กรธ.ไม่ตอบโจทย์คำขอแก้ (ของ) แม่น้ำ ๔ สาย จึงต้องมีคำถามวัดใจ ให้ ส.ว. ร่วมเลือกนายกรัฐมนตรี

เนื่องจากพวกเขาอาจเชื่อว่า ไม่น่ามีหลักประกันเพียงพอที่จะสร้างเสถียรภาพของผู้มีอำนาจในขณะนี้ต่อไปได้...

และไม่ว่านายกฯ จะมาจากไหน เสถียรภาพของรัฐบาลจะไม่มี บรรยากาศจะอึดอัด เกิดการเผชิญหน้าระหว่างทหารกับนักการเมือง เหมือนปี ๒๕๒๓ – ๒๕๒๔ ได้

ภายใต้ ๕ ปี ของระบบการเมืองไทย ไม่ได้อยู่ในห้องทดลอง เราไม่สามารถควบคุมตัวแปรอะไรได้”