วันพฤหัสบดี, มีนาคม 31, 2559

รัฐทหารเต็มรูปแบบ ด้วยคำสั่ง คสช.ที่ ๑๓/๒๕๕๙





การวิเคราะห์ข่าวประจำวัน

เรื่อง รัฐทหารเต็มรูปแบบ ด้วยคำสั่ง คสช.ที่ ๑๓/๒๕๕๙

พวกเราอยู่ในรัฐทหาร เต็มรูปแบบแล้ว ด้วยคำสั่งนี้....

เอวังด้วย ประการ ฉะนี้แล ประเทศนี้....

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

สรุปคำสั่ง คสช.ที่ 13/2559 ได้ดังนี้

1.ทหารยศร้อยตรีทุกเหล่าทัพเป็นเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม

2.ทหารชั้นประทวนเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงาน

3.จับกุมผู้กระทำผิดหรือสงสัยว่ากระทำผิด

4.ออกคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัว ให้ถ้อยคำ ส่งเอกสาร

5.จับกุมความผิดซึ่งหน้า ควบคุมตัวจับส่งพนักงานสอบสวน

6.ช่วยเหลือ สนับสนุน เข้าร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนและเป็นพนักงานสอบสวนตาม ป.วิอาญา

7.ค้นที่รโหฐานได้ไม่ต้องมีหมายค้นและไม่จำกัดเวลา

8.เรียกบุคคลมาให้ข้อมูล มาให้ถ้อยคำ และควบคุมตัวบุคคลได้7วัน สถานที่ควบคุมจะต้องไม่ใช่ที่สถานีตำรวจ เรือนจำ ทัณฑสถาน (สงสัยที่ค่ายทหาร)

9.เป็นเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตาม ป.วิอาญาด้วย

10.ไม่อยู่ในข้อบังคับของกฎหมายปกครอง(บุคคลใดฟ้องศาลปกครองไม่ได้)

11.ได้รับการคุ้มครองตามพรก.การบริหารราชการในสถานการฉุกเฉิน2548

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 13/2559 เรื่องการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/074/1.PDF

ที่มา FB


James Walsky Magazine

ooo


รายละเอียดเพิ่มจาก สำนักพิมพ์อิศรา
29 มีนาคม 2559


‘บิ๊กตู่’ใช้ ม.44 ให้ทหารลุยปราบมาเฟีย บุกค้น-เรียกสอบไม่ต้องมีหมายศาล


อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พุทธศักราช 2557 หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติโดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ในคําสั่งนี้

“เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ขึ้นไป ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้

“ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปราม” หมายความว่า ข้าราชการทหารซึ่งมียศต่ำกว่าชั้นร้อยตรี เรือตรี หรือเรืออากาศตรี ลงมา และให้หมายความรวมถึง ทหารประจําการ ทหารกองประจําการและอาสาสมัครทหารพราน ซึ่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามคําสั่งนี้

ข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามดําเนินการป้องกันและปราบปรามการกระทําอันเป็นความผิดตามที่กําหนดไว้ในบัญชีท้ายคําสั่งนี้ บุคคลซึ่งเป็นผู้กระทําความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ากระทําความผิดตามวรรคหนึ่งซึ่งจะอยู่ในบังคับตามคําสั่งนี้ ต้องเป็นผู้มีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิชอบด้วยกฎหมาย ดังต่อไปนี้

(1) กระทําความผิดโดยการข่มขืนใจให้กระทําการใด ไม่กระทําการใด หรือจํายอมต่อสิ่งใดโดยทําให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขืนใจนั้นเองหรือของผู้อื่น

(2) แสดงตนให้บุคคลอื่นเกรงกลัว ไม่กล้าขัดขืนหรือร้องเรียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ดําเนินการเพราะเกรงภัยจะเกิดแก่ตน

(3) ดํารงชีพด้วยการกระทําผิดกฎหมายการกระทําตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการใช้ จ้างวาน หรือสนับสนุนการกระทําใดๆที่เป็นการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่งด้วย

ข้อ 3 ในการดําเนินการตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1) ออกคําสั่งเรียกให้บุคคลใดมารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามหรือมาให้ถ้อยคํา หรือส่งมอบเอกสารหรือหลักฐานใดที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามข้อ 2

(2) จับกุมตัวบุคคลที่กระทําความผิดซึ่งหน้า และควบคุมตัวผู้ถูกจับนําส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดําเนินการต่อไป

(3) ช่วยเหลือ สนับสนุน หรือเข้าร่วมในการสอบสวนกับพนักงานสอบสวนในความผิดตามข้อ 2 โดยในการเข้าร่วมดังกล่าวให้ถือว่าเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(4) เข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่ใดๆ เพื่อตรวจค้น รวมตลอดทั้งค้นบุคคลหรือยานพาหนะใด ๆ ทั้งนี้ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลซึ่งกระทําความผิด ตามข้อ 2 หลบซ่อนอยู่หรือมีทรัพย์สินซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทําความผิด หรือได้ใช้หรือจะใช้ในการกระทําความผิดตามข้อ 2 หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ประกอบกับมีเหตุอันควรเชื่อว่า เนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้ บุคคลนั้นจะหลบหนีไป หรือทรัพย์สินนั้นจะถูกโยกย้าย ซุกซ่อน ทําลาย หรือทําให้เปลี่ยนสภาพไปจากเดิม

(5) ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ค้นพบตาม (4)

(6) กระทําการอื่นใดตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติมอบหมาย

ข้อ 4 ในกรณีที่มีเหตุอันควรสงสัยโดยมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดได้กระทําความผิดตามข้อ 2 ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีอํานาจเรียกตัวบุคคลนั้นมาเพื่อสอบถามข้อมูลหรือให้ถ้อยคําอันจะเป็นประโยชน์ต่อการดําเนินการตามข้อ 2 และในกรณีที่ยังสอบถามไม่แล้วเสร็จจะควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ก็ได้แต่ต้องไม่เกินเจ็ดวัน แต่การควบคุมตัวดังกล่าวต้องควบคุมไว้ในสถานที่อื่นที่มิใช่สถานีตํารวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจํา และจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นในลักษณะเป็นผู้ต้องหามิได้

เมื่อมีเหตุอันจะต้องดําเนินคดีต่อบุคคลที่กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งในฐานะเป็นผู้ต้องหาให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามในฐานะเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจดําเนินการต่อไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 5 ในกรณีที่บุคคลใดถูกควบคุมตัวตามข้อ 4 วรรคหนึ่ง เนื่องจากการกระทําความผิดตามข้อ 2 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามอาจปล่อยตัวไปโดยมีหรือไม่มีเงื่อนไขก็ได้เงื่อนไขในการปล่อยตัวตามวรรคหนึ่ง หมายถึง การกําหนดวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (2) ถึง(5) แห่งประมวลกฎหมายอาญา การห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักรเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย หรือการสั่งระงับธุรกรรมทางการเงิน

ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการปล่อยตัว ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรบั

ข้อ 6 ให้ผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามมีหน้าที่ช่วยเหลือเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ตามที่เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามสั่งการหรือมอบหมาย

ข้อ 7 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และเป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

ข้อ 8 การกระทําตามคําสั่งนี้ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง

ข้อ 9 เจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามและผู้ช่วยเจ้าพนักงานป้องกันและปราบปรามที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่า

กรณีจําเป็น ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 17 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ข้อ 10 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 29 มีนาคม พุทธศักราช 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ดูบัญชีความผิดแนบท้ายคำสั่ง