วันอาทิตย์, กุมภาพันธ์ 21, 2559

เผชิญหน้า 19/2/59 : ชนวนร้อน! ครม.16 ข้อ คำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ พบกับ ร.ศ.สุขุม นวลสกุล (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง)





https://www.youtube.com/watch?v=fX7XvDf1AiA

เผชิญหน้า 19/2/59 : ชนวนร้อน! ครม.16 ข้อ คำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ

SpringNews


Published on Feb 19, 2016

รายการ เผชิญหน้า Face Time วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 19.45 น. พบกับแขกรับเชิญ ร.ศ.สุขุม นวลสกุล (อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง) ที่มาตอบทุกโจทย์ ตอบทุกคำถามพร้อมเปิดประเด็น ชนวนร้อน! ครม.16 ข้อ คำขอแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ดำเนินรายการโดย "ดนัย เอกมหาสวัสดิ์"


ooo



พท.ออกแถลงการณ์ 4 ข้อ ซัดร่างรธน. "มีชัย"ทำประเทศเสียหาย เสียงประชาชนไร้ความหมาย วางเงื่อนไขสู่บันได 4 ขั้น 

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559
ที่มา เดลินิวส์ออนไลน์

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. พรรคเพื่อไทยออกแถลงการณ์ วิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. โดยระบุว่า 

1.ประเทศต้องปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับของสากล 

2. ต้องยุติการใส่ร้ายและทำลายพรรคการเมืองและบุคลากรทางการเมืองว่าได้อำนาจมาด้วยการซื้อเสียงและมีทุจริต แต่ขอให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน อย่าเอาดีใส่ตัวเอง เอาชั่วใส่คนอื่น 

3. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย กำลังวางเงื่อนไขให้เกิดบันได 4 ขั้นใหม่คือพรรคเพื่อไทยต้องไม่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้ง ,ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงข้างมากหรือข้างมากเด็ดขาดและเป็นรัฐบาลก็จะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอที่สุด แก้ปัญหาอะไรไม่ได้หรือมิเช่นนั้นก็ต้องยอมสนับสนุนคนนอกพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี ,การขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยในอนาคตไม่ต้องอาศัยการรัฐประหาร แต่ทำได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ และในทุกกรณีประเทศจะถูกปกครองเชิงลึกโดยองค์กรและกลไกของคนส่วนน้อยที่ไม่ได้มาจากประชาชน 

4. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย จะทำให้ประเทศชาติและประชาชนเสียหาย อาทิ อำนาจอธิปไตยของปวงชนจะไม่มีความหมายเพราะประชาชนไม่อาจตัดสินใจเลือกตั้งผู้แทนของตนในสภาผู้แทนราษฎรได้อย่างอิสระ ทั้งนี้พรรคเพื่อไทยจะได้คะแนนเสียงมากหรือน้อย จะได้เป็นรัฐบาลหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่ขอให้ประชาชนได้ตัดสินอนาคตอย่างอิสระภายใต้บรรยากาศที่เป็นธรรม และเคารพการตัดสินใจของประชาชนอย่างแท้จริง และที่สำคัญยิ่งคือประชาชนควรจะมีโอกาสอย่างแท้จริงที่จะได้พิจารณาตัดสินใจเลือกกติกาที่จะมากำหนดทิศทางประเทศ เป็นกติกาที่เอื้อต่อการพัฒนาฟื้นฟูประเทศ และเป็นกติกาที่จะไม่ส่งผลเสียหายต่อประเทศในระยะยาว