วันพุธ, ตุลาคม 28, 2558

คสช. เขียนใหม่ ‘ประวัติศาสตร์ชาติไทย’ แบบ ‘ตามใจกรู’




คสช. เขียนใหม่ ‘ประวัติศาสตร์ชาติไทย’ แบบ ‘ตามใจกรู’

หนังสือซึ่งใช้งบประมาณล้านกว่าบาทพิมพ์สี่สี ๑ หมื่น ๓ พันเล่ม ตามข่าวว่าขายดิบขายดีในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติ ศูนย์สิริกิติ์ วานนี้ (๒๖ ต.ค.)




รวมทั้งขายเกลี้ยง ๒๐ เล่มพิเศษพร้อมลายเซ็นหัวหน้ารัฐประหารผู้ไปพูด “หลุด..ห่า ขึ้นวะเวอะตลอด” ในที่ประชุมสภาแม่น้ำห้าสายวันนี้ ว่าตนเป็นรัฏฐาธิปัตย์ “ประชาธิปไตยอะไรหนักหนา”

ที่นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ ที่ปรึกษาสำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม บอกว่าทีมงานใช้เวลาเขียนสองเดือนกว่า “ยอมรับว่ามีเวลาไม่มาก แต่เมื่อหนังสือออกมาแล้ว พบว่าผู้ใหญ่หลายคนในกระทรวงชอบเนื้อหา เพราะเน้นที่พระราชกรณียกิจสำคัญๆ ของพระมหากษัตริย์ไทย”




แต่นายสุเนตร ชุตินธรานนท์อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิจารณ์ว่ามีความลำเอียง แทนที่จะสร้างความปรองดองตามจุดมุ่งหมาย

“ความจริงกลับขัดแย้งกันในตัว ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์กับข้อเท็จจริงทางวิชาการ...




เนื้อหาในเรื่องการเมือง ยังส่งผลให้การปรองดองเกิดขึ้นยาก มีตอนหนึ่งระบุว่าพรรคไทยรักไทย ดำเนินนโยบายแบบประชานิยม และนายทักษิณ ชินวัตร มีปัญหาทุจริตเลือกตั้ง

รวมถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ดำเนินนโยบายเน้นโปร่งใส แต่ยังใช้นโยบายประชานิยม

แต่กลับพูดถึงการเข้ามาของพล.อ.ประยุทธ์ ว่าทำการรัฐประหารเพื่อขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวง”

(http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1445906782)

ยังมีผู้วิจารณ์อีกคน ว่าถึง ‘ปัญหา’ ไม่น่านิยมของหนังสือเล่มนี้ไว้อย่างละเอียด ๑๒ ประการ

ผลงานของ พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ ซึ่งในที่นี้ขอนำถ้อยทางวิชาการมาเขียนสรุปใหม่แบบรวบรัด ดังนี้

๑.โครงเรื่องสร้างความเด่นเป็นเอกของรัฐไทย ก็เลยไปข่มท่านๆ เพื่อนบ้านโดยไม่ตั้งใจ (มั้ง)

๒.บรรจุแนวคิดการหลอมรวมชนเชื้อชาติต่างๆ ภายในอาณาจักรให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้ภาษาไทย โดยไม่คำนึงถึงชาติพันธุ์ที่หลากหลาย

๓.ฝังหัวความเชื่อลัทธิชาตินิยมแบบหลวงวิจิตรวาทการ อ้างความเป็นสายพันธุ์ ‘ไท’ หรือ ‘ไต’ ว่ากระจายอยู่ทั่วโลก ราว ๑๐๐ กว่าล้านคน ทั้งที่ในไทยเองมีสายพันธุ์มากมายถึง ๗๔ ชาติตระกูล

๔.ไม่ได้ให้รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลงยุคสมัย (เป็นการเขียนประวัติศาสตร์อย่างบกพร่อง)

๕.ขาดตกในเรื่องการใช้เสียงของชนต่างๆ ที่อยู่ในอาณาจักร เลี่ยงเขียนถึงเขมรไปเป็น ‘เจนละ’ ชื่อที่จีนเรียกขแมร์

๖.ประวัติศาสตร์แบบมหาบุรุษ เชิดชูกษัตราอย่างสุดๆ และละเลยความสำคัญของประชาชน

๗.พูดถึงแต่เรื่องสงครามส่วนใหญ่ กลายเป็นประวัติศาสตร์แห่งการนองเลือด

๘.เป็นประวัติศาสตร์สำหรับท่องจำ ไม่มีการตั้งคำถาม ไม่มีการอธิบายเหตุผล

๙.ใช้วาทกรรมแบบเหน็บแนมประชาธิปไตย อ้างพระราชวินิจฉัย ร.๖ ว่ายังไม่เหมาะสมกับประเทศไทย และ ร.๗ ทรงยอมอยู่ใต้รัฐธรรมนูญเพียงเพราะเพื่อความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง

๑๐.ดิสเครดิตคณะราษฎร กล่าวถึงยุคหลัง ๒๔๗๕ ว่าเป็นช่วงเวลาของความไม่สงบ มีแต่ความขัดแย้ง

๑๑.เขียนประวัติศาสตร์แบบเผด็จการเขียนกฏหมาย เพื่อประโยชน์ของผู้ปกครอง ละเลยเหตุการณ์รุนแรงที่กระทำต่อประชาชน

๑๒.วาทกรรมความเก่งกาจในการต้านทานอาณานิคม แต่ไม่พูดถึงการกบฏต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายใน

(สำหรับท่านที่ต้องการอ่านต้นฉบับเต็มในสำนวนเขียนของผู้วิจารณ์ กรุณาไปที่http://prachatai.org/journal/2015/10/62149)

ooo


http://news.voicetv.co.th/thailand/277497.html

อ่าน-เรียน-เขียน-คิด ประวัติศาสตร์อย่างเข้าใจสังคม

by พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
27 ตุลาคม 2558

InHerView ประจำวันที่ 27 ตุลาคม 2558

พิพัฒน์ กระแจะจันทร์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ.

ติดตามประเด็นอื่นๆ ในช่วง InHerView

- เมื่อประวัติศาสตร์โลก ถูกอำนาจการเมืองบิดเบือน
- อ่านประวัติศาสตร์อย่างไรให้รู้เท่าทันสังคม?
- สื่อวิจารณ์ไทยจัดประกวดสายพลัสไซส์ 'เทพีสุกร'