วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 28, 2558

BBC สัมภาษณ์ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ กรณี ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง [แปลไทย] + Thai Voice Media สัมภาษณ์ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรณี นายกฯคนนอก-ส.ว.ลากตั้ง + 'นิคม' เตือนที่มาส.ว.ยิ่งกว่า 'สภาผัวเมีย'



การกำหนดให้ ส.ว. ไม่ต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่ได้มีปัญหาเฉพาะในแง่การทำหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติเท่านั้น แต่ยังกระทบไปถึงประเด็นอื่น เช่น การถอดถอนนักการเมือง การเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งตุลาการและองค์กรอิสระ รวมไปถึงประเด็นซ่อนเร้นอื่น ๆ และที่ลืมไม่ได้ ก็คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

...

BBC Interview - Thailand's non-elected Senate [Thai subtitle]
https://www.youtube.com/watch?v=BHEYP53WL0M

Published on Feb 26, 2015
BBC Interview - Thailand's non-elected Senate [Thai subtitle]
ให้สัมภาษณ์ BBC กรณี ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง [แปลไทย]

https://www.facebook.com/verapat

ooo

นายกฯคนนอก-ส.ว.ลากตั้ง สร้าง"ประชาธิปไตยแบบ..เศษเสี้ยว



https://www.youtube.com/watch?v=BR9JfHt2iPs

ที่มา Thai Voice Media
FRI, 02/27/2015 - 12:01 JOM

อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia.com ถึงการร่างรัฐธรรมนูญ ของ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คสช. ว่า เป็นการนำประเทศย้อนหลังไปมากกว่า 40 ปี เพราะยิ่งกว่าเลวร้ายยิ่งกว่า ประชาธิปไตยครึ่งใบ นอกจาก จะเปิดช่องให้ คนนอกมาเป็น นายกรัฐมนตรี ได้เพื่อการควบคุมของอำนาจที่ลากตั้งกันมาแล้ว คนที่เป็น ส.ส.ก็ยังจะต้องมีการตรวจสอบควบคุมจากองค์กรอิสระอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งยังถูกควบคุมด้วยสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และยังจะต้องถูกควบคุมจาก วุฒิสภา ที่มาจากการลากตั้งด้วย ซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยมากกว่า ประชาธิปไตยแบบครึ่งใบ แต่เป็นประชาธิปไตยแบบเศษเสี้ยว เท่านั้นเอง และการที่จะให้ สมาชิกวุฒิสภา สามารถออกกฎหมายได้ด้วยนั้น ก็ยิ่งจะทำให้เกิดความซ้ำซ้อน ขัดแย้ง ทะเลาะกันสับสนวุ่นวาย กับ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

อาจารย์พนัสกล่าวว่า ถ้าอ่านใจ คสช. เพราะเชื่อมั่นว่าจะเอาอำนาจควบคุมประชาชนได้ เห็นว่าประชาชนไม่กล้าลุกขึ้นมาต่อต้านคัดค้าน สุดท้ายประชาชนก็อาจจะรู้สึกคุ้นเคยและชินเหมือนกับประเทศพม่า ต้องการให้ย้อนกลับไปเหมือนพม่าเมื่อ 40 ปีที่แล้ว แล้วค่อยเริ่มต้นสร้างประชาธิปไตยกันใหม่ และเชื่อว่า การเลือกตั้ง จากรัฐธรรมนูญใหม่นี้ จะยังจำเป็นต้องมีกฎอัยการศึกอยู่ การเลือกตั้งภายใต้กฎอัยการศึกแน่นอน โดย คสช.จะไม่สนใจกระแสต่อต้านจากนานาชาติและจากคนไทยบางกลุ่มในประเทศ



ที่มา Voice TV
27 กุมภาพันธ์ 2558 

อดีตประธานวุฒิสภา ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอกำหนดที่มาของ ส.ว.ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มาจากเลือกตั้งทางอ้อม เพิ่มอำนาจอดีตข้าราชการ ชี้อันตรายกว่าสภาผัวเมีย

นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา มองว่า การที่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งทางอ้อมจำนวนไม่เกิน 200 คน เป็นเรื่องอันตราย เพราะไปลดอำนาจประชาชน เพิ่มอำนาจอดีตข้าราชการของรัฐ เข้ามาในสัดส่วนของ ส.ว.สรรหา เพื่อให้มาทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลอีกทีหนึ่ง

ซึ่งหากมีการเพิ่มอำนาจให้ ส.ว.มีสิทธิเลือกนายกรัฐมนตรีได้ จะยิ่งกลายเป็นพรรคการเมืองของข้าราชการขนาดใหญ่ และน่ากลัวกว่าการเป็นสภาผัวเมียที่เคยวิจารณ์กันในอดีต ที่จะถูกใช้เป็นเครื่องมือดำเนินการเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะผู้ตรวจสอบกับผู้ถูกตรวจสอบมาจากแหล่งที่มาเดียวกัน