วันเสาร์, กันยายน 20, 2557

ราคายาง บนโลกและดาวอังคาร



ใกล้ล่ะ 3 โลร้อย

Credit Chanchira Sopha


โดย ทีมข่าวภูมิภาค 18 ก.ย. 2557 19:30
ที่มา ไทยรัฐออนไลน์

ภาคีเครือข่ายยาง 16 จ.ภาคใต้ ฮึ่ม! เตรียมเคลื่อนพลกดดันรัฐบาล หลังปัญหาราคาตกต่ำมานาน ในวันที่ 8 ตุลานี้ ยันการรวมตัวประท้วงไม่เกี่ยวกับการเมือง พร้อมกำหนด 4 แนวทางให้รัฐบาลแก้ปัญหา...

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 18 ก.ย.57 ที่ อบจ.นครศรีธรรมราช นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและสวนปาล์ม พร้อมด้วยตัวแทนภาคีเครือข่ายทั้ง 16 จ.ภาคใต้ ร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำอย่างยั่งยืน โดย ดร.เลิศชาย ศิริชัย คณบดี สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นวิทยากรพิเศษ ในการแนะนำวิธีการรวมตัวเพื่อต่อรอง ในเรื่องของปัญหาราคายางพารา ว่า ตนเองเข้าใจว่าเกษตรกรชาวสวนยางได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และมีผลกระทบต่อวิถีการดำรงชีวิต กระทบไปถึงภาวะเศรษฐกิจระดับภาค ยางราคาตกต่ำมีผลกระทบไปทั้งหมด ตนเองยังตกใจที่ปีนี้มีนักศึกษามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาขอผ่อนผันค่าเล่าเรียน ไม่เคยปรากฏเช่นนี้มาก่อน ดังนั้นการรวมตัวของเกษตรกรเพื่อเรียกร้องเรื่องราคายางต่อรัฐบาลนั้น จะต้องเรียกร้องแบบคนมีความรู้และมีความคิด อย่าใจร้อน ต้องมีสติ และจะต้องรู้และปรับเปลี่ยนกระบวนการอยู่ตลอดเวลา

นายมาโนช เสนพงศ์ นายก อบจ.นครศรีธรรมราช กล่าวตอนหนึ่งของการประชุมว่า ทาง อบจ.มิได้นิ่งเฉยกับความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง ขณะนี้ทาง อบจ.กำลังหารือกับนักวิชาการ ให้คิดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางอย่างยั่งยืน ในเรื่องของการนำยางพารามาแปรรูปผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด ตนยินดีที่จะให้การช่วยเหลือและสนับสนุน

นายทศพล กล่าวว่า ผลจากการหารือในวันนี้กว่า 2 ชม. มติในที่ประชุม ยืนยันที่จะให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาเรื่องราคายางพาราตกต่ำ โดยในวันที่ 8 ต.ค. ภาคีเครือข่ายฯ 16 จ.ภาคใต้ จะนัดรวมตัวเพื่อเคลื่อนพลโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อกดดันรัฐบาลในการแก้ปัญหา ในวันนั้นเราจะไม่บอกว่าจะเคลื่อนพลในรูปแบบใด แต่รับรองไม่ซ้ำแบบเดิมอย่างแน่นอน วันนี้ทุกคนพร้อมที่จะลุกขึ้นสู้อีกครั้ง ยืนยันว่าการเคลื่อนพลในครั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด

"แนวทางการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน มี 4 ข้อด้วยกัน คือ 1.ให้รัฐบาลต้องสนับสนุนงบประมาณให้กับสหกรณ์กองทุนยางพาราทุกสหกรณ์ที่ดำเนินการหรือสหกรณ์การเกษตร เพื่อนำงบประมาณมาซื้อยางพาราของเกษตรกร 2.ให้สหกรณ์รับซื้อผลผลิตการเกษตรของเกษตรกรโดยรับซื้อน้ำยางสดเพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเป็นยางพารารมควัน 3. ให้ สกย.ผลิตยางรมควันเพื่อเก็บเข้าสต๊อกไว้เป็นเวลา 3 เดือน เพื่อรออกจำน่ายราคาที่สูงกว่า และ 4.ให้สหกรณ์ทุกสหกรณ์คืนงบประมาณให้กับรัฐบาลตามจำนวนที่ได้รับหลังจำหน่ายผลผลิตทั้งหมด" นายทศพลกล่าว.