วันพุธ, กรกฎาคม 19, 2560

นักวิชาการนานาชาติ เสนอ"กองทัพ"กลับกรมกอง อย่าดึง"ไทย"สู่ยุดมืด




https://www.youtube.com/watch?v=hy9b3CEdf_s&feature=youtu.be

jom voice

Published on Jul 18, 2017

ดร.อณุสรณ์ อุณโณ ตัวแทนเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง หรือ คนส ให้สัมภาษณ์ Thais Voice กรณีแถลงการณ์ร่วมกลุ่มนักวิชาการนานาชาติที่เดินทางมาร่วมประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 ที่จังหวัดเชียงใหม่ 15-18 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า นอกจากจะกลุ่มนักวิชาการนานาชาติจำนวน 176 คนจะเรียกร้องให้รัฐบาลทหารคืนเสรีภาพทางวิชาการ และเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นสู่สังคมไทย และคืนอิสรภาพให้กับนักโทษทางการเมืองแล้ว ยังเรียกร้องให้มีการปฎิรูปกองทัพ ไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับการบริหารประเทศหรือการเมืองเพราะกองทัพไม่มีความรู้ ไม่มีความสามารถในการบริหารประเทศ และการปฎิรูปศาลรวมถึงองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เพราะเป็นองค์กรที่นำวิกฤติมาสู่สังคมไทยตลอด 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น กรณีทหารที่เชียงใหม่ได้มีการเรียกตัวนักวิชาการ 6 คนเข้าปรับทัศนคติหลังที่มีการชูป้าย เวทีวิชาการ ไม่ใช่ค่ายทหาร เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น ทาง คนส.จะออกแถลงการณ์และจะเคลื่อนไหวในเรือ่งนี้ต่อไป

...

เรื่องเกี่ยวข้อง...



https://www.facebook.com/PrachataiEnglish/videos/1544333922272814/

...

แถลงการณ์ “ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” การประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา เรื่อง

“ขอคืนพื้นที่ความรู้และสิทธิเสรีภาพของพลเมืองในสังคมไทย”






นับตั้งแต่การรัฐประหารโดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) ในปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมา สิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง และความรู้ของประชาชนไทยถูกปิดกั้นและบิดเบือนอย่างมาก ขณะที่ประชาชนผู้มีความคิดเห็นต่างจากรัฐจำนวนมากถูกข่มขู่ คุกคาม และจับกุมคุมขังอย่างผิดหลักการและขั้นตอนกระบวนการยุติธรรม แม้สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ไม่อาจนับว่าเป็นเรื่องเฉพาะของคนภายในประเทศได้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลกซึ่งต่างยอมรับในหลักการพื้นฐานของการเคารพสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การแสดงความเห็น การเรียนรู้ รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยไม่แบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง ชาติ กำเนิด หรือสถานะอื่นใด
“ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา (ตามรายชื่อแนบท้าย) ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสวงหาความรู้ด้วยการแลกเปลี่ยนถกเถียงกันบนพื้นฐานของการยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความเชื่อ และอุดมการณ์ของบุคคล จึงเห็นว่าการปิดกั้นเสรีภาพทางความคิดที่เกิดขึ้นในสังคมไทยขณะนี้เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นกังวล เพราะจะส่งผลให้เกิดการถดถอยทางปัญญา เนื่องจากประชาชนไม่สามารถเข้าถึงความจริงและแสวงหาความรู้ที่ก้าวหน้าไปกว่าเดิมได้ ยิ่งกว่านี้ การที่รัฐใช้อำนาจโดยมิชอบละเมิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่มีความเห็นต่างยังสร้างความเสื่อมถอยด้านสิทธิมนุษยชนทั้งในสังคมไทยและประชาคมโลก พวกเราจึงมีข้อเรียกร้องดังต่อไปนี้

1. รัฐต้องเคารพเสรีภาพทางวิชาการ ด้วยการคืนพื้นที่ความรู้ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยไม่ถูกปิดกั้น ครอบงำ หรือบิดเบือน เช่น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ทั้งในอดีตและปัจจุบัน สถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองไทย เป็นต้น ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นวัตถุดิบสำคัญของการสร้างความรู้ใหม่ที่หลากหลาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาสังคมและการเมืองไทยรวมถึงประชาคมโลก

2. รัฐต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกของประชาชน ด้วยการคืนอิสรภาพให้แก่นักโทษทางความคิดที่ถูกจับกุมคุมขังเพียงเพราะพวกเขามีความคิดเห็นแตกต่างไปจากรัฐ เช่น ผู้ต้องขังในคดีมาตรา 112 และผู้ต้องโทษในคดีที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองในปี พ.ศ.2553 เป็นต้น

3. รัฐต้องคืนอำนาจอธิปไตยให้แก่ประชาชนตามหลักพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยโดยเร่งด่วน เช่น การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์และยุติธรรม 

4. รัฐต้องปฏิรูปสถาบันสำคัญในสังคมไทย โดยเฉพาะศาลและกองทัพ ที่มักใช้อำนาจอย่างเป็นอิสระโดยไม่ยึดโยงกับประชาชน และมีส่วนให้สังคมและการเมืองไทยตกอยู่ในสภาวะคับขันดังในปัจจุบัน

“ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา เห็นว่าด้วยการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องทั้ง 4 ประการนี้เป็นอย่างน้อยเท่านั้นจึงจะสามารถนำพาสังคมไทยไปสู่ความปรองดอง สมานฉันท์ และสันติ และเกิดการปฏิรูปสังคมไทยที่แท้จริงด้วยสติปัญญาและพลังความรู้ มิใช่การใช้อำนาจดิบหยาบปิดกั้นครอบงำพื้นที่ความรู้ดังเช่นทุกวันนี้

ด้วยความเชื่อมั่นในการเรียนรู้อย่างอิสระ

“ชุมชนนักวิชาการนานาชาติ” ในการประชุมนานาชาติไทยศึกษาครั้งที่ 13 และนักวิชาการด้านไทยศึกษา 

17 กรกฎาคม 2560
ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่

Declaration of the “The Community of International Academics”
13th International Conference on Thai Studies
and Scholars on Thai Studies

“Return the Space of Knowledge, Rights, and Civil Liberties to Thai Society”

Since the coup by the National Council for Peace and Order (NCPO) in 2014, the rights and freedom of the Thai people to access information, news, facts, and knowledge have been greatly suppressed and derogated. A significant number of those who hold opinions different than the state have been harassed, threatened, and arrested and detained in contravention to judicial principles and process. Although this situation has emerged in Thailand, it is not only a matter of concern for those inside the country. This is because Thailand is a member of the international community that accepts the foundational principles of respect for rights and freedom in accessing information, expressing opinions, learning, and basic human dignity, without division by ethnicity, race, sex, language, religion, political opinion, nationality, birthplace, or other factors. 

“The Community of International Academics” present at the 13th International Thai Studies Conference, and scholars on Thai studies, whose names are listed below, realize the importance of rights and freedom to express opinions and search for knowledge through exchange and debate upon a foundation of the recognition of difference and diversity of thought, belief, and ideology. Therefore, we view the suppression of freedom of thought in Thai society at present to be of concern because it will result in the deterioration of knowledge as it renders the people unable to access the truth and search for information to move forward. Further, the arbitrary exercise of power by the state to violate the rights and freedom of the people who think differently has caused a decline in human rights in both Thai society and the international community. We therefore make the following demands:

1. The state must respect academic freedom by returning the space of knowledge in which the people can access different kinds of information and facts, as well as allowing the exchange of knowledge without suppression, control or distortion. For example, the facts about the 1932 transformation from absolute to constitutional monarchy in both the past and the present, the facts about social institutions that are connected with political problems in Thailand, etc. These facts constitute important raw material for creating diverse knowledge that will benefit intellectual progress and the development of Thai society and politics as well as the global community.

2. The state must respect rights and freedom in the people’s expression of opinion and other forms of expression by returning freedom to prisoners of conscience who have been arrested and detained simply because they hold different opinions than the state. This includes, for example, prisoners in Article 112 cases and prisoners in cases related to the political demonstrations in 2010.

3. The state must swiftly return the sovereignty to the people in line with democratic principles, such as through free and fair elections.

4. The state must reform important institutions in Thai society, especially the judiciary and the military, which often exercise power freely without any regard for the people and partly led Thai society and politics to the current crisis.

“The Community of International Academics” and scholars on Thai studies holds that actions in line with these four demands constitute the minimum necessary for Thai society to achieve harmony, reconciliation, and peace. These actions are also the minimum necessary for true reform of Thai society -- reform informed by consciousness and the power of knowledge -- rather than the raw and crude exercise of power to suppress and dominate the space of knowledge taking place at present.

With faith in learning with freedom

“The Community of International Academics” at the 13th International Conference on Thai Studies and scholars on Thai studies

17 July 2017
Chiang Mai International Exhibition and Convention Center

รายนามผู้ลงชื่อแนบท้ายจดหมาย/Signatories
1) Aim Sinpeng
2) Alexander Horstman
3) Andrew Alan Johnson ( Assistant Professor, Department of Anthropology, Princeton University)
4) Chris Baker
5) Coeli Barry
6) Diptendu Sarkar
7) Edoardo Siani
8) Erik Kuhonta
9) Hara Shintaro
10) Irene Stengs (Meertens Instituut Royal Netherlands Academy of Art and Sciences Amsterdam The Netherlands)
11) Jonathan Rigg NUS
12) Karin H. Zackari
13) Katherine Bowie
14) Mark Heng
15) Mary Mostafanezhad (University of Hawaii)
16) Matthew Phillips
17) Megan Youdelis (York University)
18) Niabdulghafar Tohming
19) Noah Viernes
20) Paul Chambers
21) Peter Jackson
22) Peter Vandergeest
23) Philip Hirsch
24) Rachel Harrison
25) Rosenun Chesof (University of Malaya)
26) Sarah Bishop (ANU College of Law, Australian National University)
27) Shalmali Guttal (Focus on the Global South)
28) Taylor Easum
29) Tyrell Haberkorn
30) Vanessa Lamb
31) Walden Bello ZState University of New York, Binghamton, USA)
32) กนกรัตน์ สถิตนิรามัย
33) กนกวรรณ มะโนรมย์
34) กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช
35) กฤติธี ศรีเกตุ
36) กันต์ฌพัชญ์ อยู่อำไฟ
37) กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล
38) กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา
39) กิตติ วิสารกาญจน
40) กิตติกาญจน์ หาญกุล
41) กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ
42) เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
43) เกรียงไกร เกิดศิริ
44) เกษม เพ็ญภินันท์
45) เกษียร เตชะพีระ
46) เกียรติศักดิ์ บังเพลิง
47) คารินา โชติรวี
48) เคท ครั้งพิบูลย์
49) งามศุกร์ รัตนเสถียร
50) จณิษฐ์ ฟื่องฟู
51) จักรกริช สังขมณี
52) จิราพร เหล่าเจริญวงศ์
53) ชลัท ศานติวรางคณา
54) ชลิตา บัณฑุวงศ์
55) ชัยพงษ์ สำเนียง
56) ชัยพร สิงห์ดี
57) ชัยศิริ จิวะรังสรรค์
58) ชาญณรงค์ บุญหนุน
59) ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
60) ชำนาญ จันทร์เรือง
61) เชษฐา พวงหัตถ์
62) ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ
63) ไชยันต์ รัชชกูล
64) ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์
65) ณรุจน์ วศินปิยมงคล
66) ณีรนุช แมลงภู่
67) เดชรัต สุขกำเนิด
68) ตะวัน วรรณรัตน์
69) ถนอม ชาภักดี
70) ทับทิม ทับทิม
71) เทียมสูรย์ สิริศรีศักดิ์
72) ธนศักดิ์ สายจำปา
73) ธนาวิ โชติประดิษฐ
74) ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
75) ธเนศวร์ เจริญเมือง
76) ธีรวัฒน์ ขวัญใจ
77) ธีราภา ไพโรหกุล
78) นภาพร อติวานิชยพงศ์
79) นฤมล ทับจุมพล
80) นาตยา อยู่คง
81) นิติ ภวัครพันธุ์
82) นิธิ เอียวศรีวงศ์
83) บดินทร์ สายแสง
84) บัณฑิต ไกรวิจิตร
85) บัณฑิต จันทร์โรจน์กิจ
86) บารมี ชัยรัตน์
87) บุญเลิศ วิเศษปรีชา
88) บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์
89) เบญจมาศ บุญฤทธิ์
90) เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว
91) ประจักษ์ ก้องกีรติ
92) ประภาส ปิ่นตบแต่ง
93) ประสิทธิ์ ลีปรีชา
94) ปรีดี หงษ์สต้น
95) ปวลักขิ์ สุรัสวดี
96) ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
97) ปิยะ เกิดลาภ
98) ผาสุก พงษ์ไพจิตร
99) พรพรรณ วรรณา
100) พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์
101) พวงทอง ภวัครพันธุ์
102) พศุตม์ ลาศุขะ
103) พสิษฐ์ วงษ์งามดี
104) พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
105) พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
106) พิพัฒน์ กระแจะจันทร์
107) พิพัฒน์ สุยะ
108) พิภพ อุดมอิทธิพงศ์
109) พีรพัฒน์ โกศลศักดิ์สกุล
110) ไพบูลย์ เฮงสุวรรณ
111) ภัควดี วีระภาสพงษ์
112) ภัทรภร ภู่ทอง
113) ภาสกร อินทุมาร
114) ภูวิน บุณยะเวชชีวิน
115) มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง
116) ยิ่งศิวัช ยมลยง
117) ยุกติ มุกดาวิจิตร
118) รจเรข วัฒนพาณิชย์
119) รังสิมา กุลพัฒน์
120) รัฐพงศ์ ภิญโญโสภณ
121) ราม ประสานศักดิ์
122) รุ่งธิวา ขลิบเงิน
123) ลลิตา หาญวงษ์
124) วรรณภา ลีระศิริ
125) วสันต์ ปัญญาแก้ว
126) วัฒนา สุกัณศีล
127) วันรัก สุวรรณวัฒนา
128) วิเชียร อันประเสริฐ
129) วิริยะ สว่างโชติ
130) วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล
131) วีรบูรณ์ วิสารทสกุล
132) เวียงรัฐ เนติโพธิ์
133) ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
134) ศรัญญู เทพสงเคราะห์
135) ศรีสมภพ จิตติภิรมย์ศรี
136) ศักรินทร์ ณ น่าน
137) ศิริจิต สุนันต๊ะ
138) ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี
139) สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์
140) สมชาย ปรีชาศิลปกุล
141) สมฤทธิ์ ลือชัย
142) สมิทธิรักษ์ จันทรักษ์
143) สร้อยมาศ รุ่งมณี
144) สันติชัย ปรีชาบุญฤทธิ์
145) สามชาย ศรีสันต์
146) สิริพรรณ นกสวน สวัสดี
147) สุภัทรา นีลวัชระ วรรณพิณ
148) สุรัช คมพจน์
149) สุริชัย หวันแก้ว
150) เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์
151) โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์
152) หทยา อนันต์สุชาติกุล
153) อนุสรณ์ อุณโณ
154) อภิชาต สถิตนิรามัย
155) อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
156) อภิญญา เวชยชัย
157) อมต จันทรังษี
158) อรทัย อาจอ่ำ
159) อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
160) อรรถพล อนันตวรสกุล
161) อรศรี งามวิทยาพงศ์
162) อรอนงค์ ทิพย์พิมล
163) อรัญญา ศิริผล
164) อรุณี สัณฐิติวณิชย์
165) อัครพงษ์ ค่ำคูณ
166) อัจฉรา รักยุติธรรม
167) อัจฉริยา ชูวงศ์เลิศ
168) อัญมณี บูรณกานนท์
169) อันธิฌา แสงชัย
170) อาจินต์ ทองอยู่คง
171) อานันท์ กาญจนพันธุ์
172) อิสระ ชูศรีสุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ
173) อุเชนทร์ เชียงเสน
174) เอกพลณัฐ ณัฐพัทธ์นันท์
175) เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช
176) เอกรินทร์ ต่วนศิริ