วันเสาร์, พฤศจิกายน 26, 2559

กลุ่มเบียร์ช้างเท็คโอเว่อร์ กลุ่มอมรินทร์การพิมพ์... เราควรเสียใจหรือสะใจ + ไล่เรียง กำเนิดและหายนะกรรรม ของเครืออมรินทร์




ที่มา FB

Thanapol Eawsakul

บริษัท อมรินทร์ หลุดมือจากตระกูลอุทกะพันธุ์ สู่ เบีบร์ช้างของเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี เราควรเสียใจหรือสะใจ
........................

อ่านข่าว
อมรินทร์ขาดทุนหนัก ดึงกลุ่มเสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ซื้อหุ้นเพิ่มทุน 850 ล้านบาท
https://brandinside.asia/amarin-siriwattanapakd-stakes/

บริษัท วัฒนภักดี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของอมรินทร์ ด้วยสัดส่วนหุ้น 47.62% ส่วนครอบครัวอุทกะพันธุ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มอมรินทร์ จะมีสัดส่วนหุ้นลดลงเหลือ 30.83% จากการที่ตระกูลสิริวัฒนภักดี ได้ลงเงิน 850 ล้านบาท ในการอมรินทร์จะเพิ่มทุนจดทะเบียน 200 ล้านบาท โดยออกหุ้นสามัญเพิ่มจำนวนหุ้น 200 ล้านหุ้น มูลค่าราคาหุ้นละ 1 บาท แล้วขายให้กับ บริษัท วัฒนภักดี จำกัด ในราคาหุ้นละ 4.25 บาท (รวมมูลค่า 850 ล้านบาท)

(ดูสัดส่วนการถือหุ้นในปัจจุบัน กับผู้ถือหุ้นรายใหม่หลังจากการเข้าซื้อหุ้น)

แน่นอนว่าการที่อมรินทร์ ขาดทุนบักโกรกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เกิดจากการลงทุนในทีวีดิจิตอล

"โดยช่วง 9 เดือนแรกของปี 2559 ขาดทุนถึง 468.93 ล้านบาท จึงส่งผลต่อสภาพคล่องและกระแสเงินสด เพื่อใช้จ่ายค่าใบอนุญาตดิจิตอลทีวี ค่าเช่าโครงข่ายทีวี และชำระเงินกู้คืนไปยังสถาบันการเงิน บริษัทจึงต้องหาเงินทุนเพิ่ม"

.........................
แล้วถ้าใครคิดว่าการรัฐประหารไม่มีผลต่อรายได้ทีวีดิจิตอล ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจที่หดตัวลง จากการบริหารของรัฐบาลคณระัฐประหาร จนต้องมาแจกเงินสดกันในปัจจุบัน รวมทั้งการการแย่งเวลาไพร์มไทม์ ของหัวหน้าคณะรัฐประหาร โดยทื่บริษัทเอกชนก็ยังจ่ายค่าประมูลในราคาเท่าเดิม

ทั้งหมดนี้ก็มีส่วนซ้ำเติมให้วิกฤตทีวีดิจิตอลที่มาล่าช้างกว่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเร็วแล้ว ยิ่้งร้ายแรงยิ่งกล่าวเดิม

แต่เราก็ไม่ลืมว่า ในช่วง กปปส. ที่ชุมนุมสร้างเงื่อนไขให้รัฐประหาร 2557 เครืออมรินทร์ โดยคุณเมตตา อุทกะพันธุ์ คึอแม่ยกคนคนสำคัญ ของ กปปส. ทั้งสนับสนุนทางการเงินแบบลับ ๆ และ ให้พื้นที่ของนิตสารในเครือในการสนับสนุน กปปส.

"ฉัตรชัย - สินจัย" บนปกนิตยสาร "รักประเทศไทย
http://news.sanook.com/1461338/

ถ้าครอบครัว อุทกะพันธุ์ จะขาดทุนจุศูญเสียความมั่งคั่งไป เพียงฝ่ายเดียวก็จะไม่เสียใจ เพียงแต่วิพากกรรมครั้งนี้ ได้พาสังคมไทยลงหุบเหวไปด้วย
...

หลังจากซื้ออัมรินทร์แล้ว เบียร์ช้าง ของ เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี จะเป็นเจ้าของร้านหนังสือสำคัญ
1. สุริวงศ์บุ๊ค
2. เอเชียบุ๊ค
3. ร้านนายอินทรฺ์








ooo



สรุปลำดับเวลาเรื่องอมรินทร์ และกรณีเบียร์ช้างอย่างง่าย

1. สนพ.อมรินทร์ (AMARIN) ก่อตั้งโดยคุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ นักคิดนักเขียนยุค 14 ตุลา โดยเริ่มจากการผลิตนิตยสารบ้านและสวนได้รับความนิยม เป็นนิตยสารแนวการจัดบ้านรุ่นแรกๆ ของไทย ต่อมาประสบความสำเร็จกับนิตยสารแฟชัน "แพรว" และแฟชันวัยรุ่น "แพรวสุดสัปดาห์"

2. อมรินทร์เติบโตมา ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เป็นสำนักพิมพ์ที่จัดพิมพ์พระราชนิพนธ์ หลายเรื่อง เช่นติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ พระมหาชนก และเรื่องทองแดง

3. อมรินทร์พรินติ้ง ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อ 3 มกราคม 2535

4. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ และสมเด็จพระเทพฯ ทรงถือหุ้นส่วนหนึ่งในสนพ.อมรินทร์ (1.58% และ 0.63%) ตามลำดับ

5. ร้านหนังสือ "นายอินทร์" ของอมรินทร์ ได้รับพระราชทานชื่อจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ ที่มาจากพระราชนิพนธ์เรื่อง "นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ" (The Man called intrepid)

6. อมรินทร์ได้จัดประกวดวรรณกรรม นายอินทร์อะวอร์ด โดยผู้ชนะจะได้รับพระราชทานโล่รางวัลจากสมเด็จพระเทพ ถือเป็นรางวัลวรรณกรรมอันดับต้นของไทย

7. คุณชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2545 จากนั้น คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ภรรยา และคุณระริน อุทกะพันธุ์ บุตรสาว เป็นผู้บริหารสืบต่อ

8. อมรินทร์เป็นผู้นำแนวคิด "ชีวจิต" โดยดร.สาทิส อินทรกำแหง เผยแพร่ให้เป็นกระแส และมีนิตยสาร "ชีวจิต" ตามมา รวมถึงแนวคิดแบบ "The secret" ซึ่งแปลมาจากต่างประเทศ รวมถึงเป็นผู้ที่ทำให้ท่าน ว.วชิรเมธี โด่งดังเข้าสู่กระแสสื่อหลัก ภาพลักษณ์ของอมรินทร์จึงออกมาในแนวทางยึดหลักธรรมะ พอเพียง คนดีมีศีลธรรม และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์

9. ระยะหลังปี พ.ศ. 2547 อมรินทร์และร้านนายอินทร์ได้นำเสนอหนังสือแนวธรรมะอ่านง่ายเข้าถึงง่าย เช่น เข็มทิศชีวิตของฐิตินาถ ณ พัทลุง, ผลงานของพระมิตซูโอะ คเวสโก, ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น ของทพ.สม สุจีรา เป็นต้น

10. หลังปี 2551 อมรินทร์ได้ขยายกิจการร้านนายอินทร์ออกสู่ต่างจังหวัดมากขึ้นเพื่อแข่งขันกับร้านซีเอ็ด และเพิ่มทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ แม้ว่าจะประสบวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์และน้ำมันราคาสูง จนต้องขึ้นค่าสายส่ง อมรินทร์มีกำไรสะสมต่อหุ้นสามารถปันผลได้ราวปีละ 5% กำไรเฉลี่ยปีละ 300 ล้านบาท

11. ปี 2556 มีการประมูลทีวีดิจิตอล อมรินทร์ได้เพิ่มทุนครั้งใหญ่กว่าเท่าตัว เพื่อเข้าประมูลช่องทีวีเป็นของตนเอง ในขณะเดียวกัน ช่วงปลายปีมีการประท้วงของกลุ่ม กปปส. เครืออมรินทร์เป็นผู้สนับสนุนและกระบอกเสียงหลักของการชุมนุมประท้วงทั้งในทางเงินทุนและสื่อเผยแพร่ ถึงกับมีประกาศเวียนในสำนักงานว่าให้พนักงานไปร่วมม็อบชัทดาวน์ประเทศไทยของ กปปส.

12. ปี 2557-2559 อมรินทร์ขาดทุนมหาศาล รวม 2 ปี 3 ไตรมาส ขาดทุนไปถึง 950 ล้านบาท นับแต่ม็อบ กปปส. ราคาหุ้นตกลงเหลือ 1 ใน 3 จากปี 2556 หนี้สินสะสมรวม 4,000 ล้านบาท กระแสเงินสดลดต่ำเหลือเพียง 291 ล้านบาท แต่มีหนี้เงินกู้ระยะสั้นและเงินเบิกเกินบัญชี (OD) ถึง 550 ล้านบาท

13. อมรินทร์ทีวียังไม่ประสบความสำเร็จ เรตติ้งอยู่ในระดับกลุ่มล่าง และรายได้โฆษณาต่ำมากทำให้ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายราววันละ 2 ล้านบาท หนี้สินต่อทุนพุ่งถึงเป็น 4.32 เท่า ถือว่าอันตรายในการดำเนินกิจการ

14. อมรินทร์ได้ร่วมกับบ. คาโดกาว่าโชเต็น ของญี่ปุ่น เปิดตัวหัว สนพ. ฟินิกซ์ เพื่อทำตลาดนิยายแปลญีปุ่่นและมีเดียมิกซ์ในเดือนพฤศจิกายน (เลื่อนจากเดือนตุลาคม)

15. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 บอร์ดบริหาร AMARIN ประกาศเพิ่มทุน และขายหุ้น 47% ให้ตระกูลสิริวัฒนภักดี แห่งเครือไทยเบฟ ผู้ประกอบกิจการโรงสุราแม่โขงและเบียร์ช้างเป็นเงิน 850 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้จ่ายดำเนินกิจการต่อไป

16. ตระกูลสิริวัฒนภักดี ขอผ่อนผันจาก กลต. เพื่อไม่ต้องทำ Tender offer ตั้งโต๊ะซื้อหุ้นอิสระ (Free float) ทั้งหมด ซึ่งปกติหากมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่เกิน 25% ต้องประกาศรับซื้อหุ้นในตลาด เนื่องจากเป็นการซื้อหุ้นเพิ่มทุนจากนอกตลาดโดยมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท

17. ตระกูลสิริวัฒนภักดี จะมีสื่อในมือเทียบเท่ากับตระกูลเจียรวนนท์แห่งทรู-ซีพี รวมถึงเครือข่ายลอจิสติกส์หนังสือและหน้าร้านหนังสือนายอินทร์กว่า 160 สาขาทั่วประเทศทันที

18. ตระกูลอุทกะพันธุ์ยังดำรงตำแหน่งระดับบริหารของอมรินทร์ จนกว่าตระกูลสิริวัฒนภักดีจะแต่งตั้งกรรมการบริหารใหม่ ปิดฉากตำนานของชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ผู้ริเริ่มนิตยสารปกิณกะบันเทิงและวงการสื่อไทยยุคร่วมสมัยไปในที่สุด

19. บริษัทคาโดกาวะอมรินทร์ ไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากคาโดกาวะโชเต็นจากญี่ปุ่น ถือหุ้นใหญ่ 49% อมรินทร์ถือน้อยกว่าที่ 46% และผู้บริหารมาจากญี่ปุ่น

20. คาดว่าจะมีการลดค่าใช้จ่ายและลดต้นทุนรวมถึงการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในบริษัทอมรินทร์เร็วๆ นี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

ขอเป็นกำลังใจให้เพื่อนๆ พี่น้องชาวอมรินทร์ทุกท่าน หวังว่าการเปลี่ยนแปลงจะนำมาซึ่งสิ่งที่ดี

ที่มา FB

Theerapat Charoensuk