วันศุกร์, กรกฎาคม 24, 2558

บทความแปล: การเรียกร้องประชาธิปไตยถือว่าเป็นการปลุกระดมในประเทศไทย

โพสต์ที่ Facebook ส่วนตัวบทความแปล: การเรียกร้องประชาธิปไตยถือว่าเป็นการปลุกระดมในประเทศไทย

อ้างอิงDemanding Democracy Is Seditious in Thailand

บทความภาษาอังกฤษเขียนโดย: รังสิมันต์ โรม

คุณรังสิมันต์ โรม เป็นบัณฑิตปีการศึกษา 2558 ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งใน "14 ไทย" หรือ นักศึกษา 14 คน ที่ถูกคุมขังในเรื่องการประท้วงกับรัฐบาลเผด็จการทหารเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558

----------------------------------------------------------------------------------

ประชาชนส่วนมากมีความรู้สึกว่า มันเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่ ประชาชนมือเปล่าจะสามารถโค่นล้มและกระชากอำนาจกลับคืนมาจากฝ่ายเผด็จการผู้ถืออาวุธได้ การต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการนี้ เปรียบประหนึ่งกับการเอาชีวิตของผู้คนมาแขวนไว้บนเส้นด้าย

ทันทีหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ผมและเพื่อนๆ ก็เริ่มทำการประท้วงในการเรียกร้องให้ระบอบประชาธิปไตยกลับคืนมา เราทราบเป็นอย่างดีว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อันตรายมาก แต่เราก็ยังยึดหลักการของพวกเรากันอย่างเหนียวแน่น เราไม่สามารถที่จะยอมให้เผด็จการคนหนึ่ง มาฉกฉวยอำนาจจากประชาชนกันอย่างง่ายดาย นี่คือเวลาของเรา เราไม่สามารถที่จะนั่งอยู่ที่นี่เฉยๆ โดยไม่ทำการเคลื่อนไหวใดๆ ได้

ทางฝ่ายผู้มีอำนาจก็ไม่นิ่งดูดายเช่นกัน พวกเราบางคนถูกจับและถูกคุมขังอยู่ในสถานีตำรวจ และบางคนก็อยู่ในค่ายทหาร แต่มันก็ไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งพวกเราแต่อย่างใด

วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นครบรอบหนึ่งปีของการก่อการรัฐประหารนั้น เป็นจุดเปลี่ยนในการต่อสู้ของเรา เราทำการประท้วงกันอย่างสันติ และทางฝ่ายทหารกับฝ่ายตำรวจนั้น ได้ตอบโต้การกระทำของเรา ด้วยการใช้กำลังเพื่อที่จะสลายงานของเรา และจากนั้น ก็ทำการจับกุมนักศึกษาและประชาชนอื่นๆ ด้วย หลายคนถึงกับบาดเจ็บและต้องถูกส่งเข้าไปในโรงพยาบาล เกือบสองเดือนต่อมา ผู้ที่บาดเจ็บบางคนก็ยังไม่กลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติ

ถึงแม้ว่า มันจะเห็นกันอย่างชัดเจนว่า มีการใช้กองกำลังกับพวกเรา แต่ไม่มีผู้ปฎิบัติการผู้ใดได้รับการลงโทษ แต่สิ่งที่ย่ำแย่กว่านั้นคือ พวกเราบางคน ถูกหมายเรียกเพื่อไปฟังคำฟ้องกับพวกเรา ในโทษฐานละเมิดคำสั่งของพวกเผด็จการทหารเกี่ยวกับ การห้ามมีการชุมนุมมั่วสุมทางการเมืองมากกว่า 5 คนข้ึนไป เรามีชีวิตอยู่กันในสังคมที่คนกระทำความผิดนั้น สามารถกล่าวโทษและฟ้องเหยื่อผู้รับเคราะห์ได้ เมื่อฝ่ายรัฐมีความล้มเหลวในการจัดการกระบวนการยุติธรรมให้เกิดขึ้น เราจะต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องมันด้วยตัวของพวกเราเอง

เมื่้อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558 พวกเราได้เดินทางไปยังสถานีตำรวจ แต่เป็นการฟ้องเพื่อร้องเรียนในเรื่องความโหดเหี้ยม แทนที่จะตอบรับกับหมายเรียกที่มีกับพวกเรา แต่ในที่สุด มือเปล่าๆ อันไร้พลังของพวกเราซึ่งไม่สามารถที่จะเขย่าอำนาจของฝ่ายเผด็จการทหารนั้น ก็เริ่มจะทำให้พวกเขาวิตกกังวลกัน ในวันต่อมา เราเดินทางไปยังอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และผู้คนจำนวนหลากหลายก็เริ่มทะยอยไหลเข้ามาที่นั่นเพื่อมาฟังการปราศรัยและเชียร์ให้กำลังใจกับพวกเรา ความเงียบที่ส่งเสียงคำรามออกมา ซึ่งสร้างขึ้นจากการปราบปรามประชาชนของฝ่ายเผด็จการทหาร เพื่อไม่ให้พูดในสิ่งที่ยังค้างอยู่ในใจของพวกเขานั้น ได้ถูกทำลายลงไปเสียสิ้น

การประท้วงของพวกเขาได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง และฝ่ายเผด็จการทหารเอง ก็เริ่มมีความวิตกกังวลขึ้นเรื่อยๆ ถ้าพวกเขายินยอมให้มีเรื่องนี้อยู่ต่อไป ก็จะมีผู้คนเข้ามาร่วมประท้วงกับพวกเราบนท้องถนนมากขึ้น ดังนั้น พวกเขาถึงตัดสินใจจับกุมพวกเรา: นักศึกษา 7 คนจากกรุงเทพมหานคร และอีก 7 คนจากจังหวัดขอนแก่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อคืนวันที่ 26 มิถุนายนนั้น ตอนแรก พวกเราถูกนำตัวเขามายังสถานีตำรวจ และถูกกล่าวหาสองกระทงว่า เราได้ละเมิดข้อหา ที่ห้ามทำการประท้วงจากคำสั่งของฝ่ายเผด็จการทหาร และกระทำการปลุกระดมอีกด้วย เราถูกส่งไปยังศาลทหารในเวลาเที่ยงคืน และจากนั้นก็ถูกส่งเข้าไปในที่คุมขัง เราอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 12 วันจนกระทั่งได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ข้อกล่าวหากับฝ่ายเรานั้น ยังคงมีอยู่

พวกเราหลายคนในคุกคิดว่า พวกเรามีความโง่เขลาที่ยอมแลกอิสรภาพเพื่อรักษาอุดมการณ์ของพวกเรา แต่สำหรับผมนั้น ทุกๆ นาทีที่อยู่ในคุกนั้น มันเป็นนาทีที่คุ้มค่าต่อการดิ้นรนต่อสู่กับฝ่ายเผด็จการทหาร ผมต้องการปลุกสติความสำนึกของเพื่อนๆ ประชาชน และต้องการให้พวกเขาตระหนักเกี่ยวกับความอยุติธรรมที่เราเผชิญหน้ากับพวกเผด็จการเหล่านี้กัน ถ้าเราสามารถทำให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงเรื่องนี้ มันก็จะนับได้ว่า เราได้รับชัยชนะจากการต่อสู้ย่อยๆ ครั้งหนึ่งแล้ว และจะมีอีกหลายครั้งในเวลาต่อมา

ท้ายที่สุด เหตุผลที่ผมต้องดิ้นรนในเรื่องนี้ก็คือว่า ผมสามารถบอกให้กับลูกหลานของผมได้รับรู้ เมื่อพวกเขาถามผมว่า ผมอยู่ที่ไหนในขณะที่เกิดเหตุการณ์รัฐประหาร และผมกระทำการอย่างไรบ้างเพื่อพวกเขา ผลที่ตามมาจากเหตุการณ์รัฐประหารครั้งนี้ ก็ยังคงรู้สึกกันอย่างต่อเนื่อง ไปจนถึงประชาชนรุ่นต่อมา ความรับผิดชอบของคนรุ่นผมก็คือ การกระทำการอย่างดีที่สุดเท่าที่เราสามารถจะทำได้ ในการต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการทหาร เพื่้อภาระต่างๆ จะได้ลดลง และไม่ต้องไปแบกหามกันอย่างหนักในรุ่นของพวกเขา..

--------------------------------------------------------

ความคิดเห็นของผู้แปล:

ขอนำบทความของน้องรังสิมันต์ มาแปลให้อ่านกัน บทความนี้อยู่ใน Huffington Post ค่ะ

ความเห็นต่างๆ ก็ให้กันหมดแล้ว ก็เหลืออย่างเดียวคือ เรามีความภูมิใจในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของพวกน้องมากๆ และหวังว่า ในวันหนึ่ง เราคงได้เห็น รัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จะเกิดขึ้นในแผ่นดินไทยเสียที