วันอังคาร, เมษายน 28, 2558

ยุโรป-อเมริกา-ญี่ปุ่น แห่เมินไทย! BOI เผยต้นปี’58 ยื่นลงทุน "ดิ่ง" เฉียด 100% เงินลงทุนหาย 4.5หมื่นล้าน



ที่มา เวป ที่นี่และที่นั่นวันนี้
April 27, 2015

สถานการณ์เศรษฐกิจไทย ใน “ไตรมาส 2” จาก “รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2558 (เมษายน – มิถุนายน 2558)” ของ “กลุ่มวัฎจักรเศรษฐกิจการค้า กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์” ที่ได้สรุปว่า “ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสที่ 2/2558 ยังคงชะลอตัว โดยยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออกที่หดตัว และราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ”

ชี้ให้เห็น “ความย่ำแย่” ของ “เศรษฐกิจไทย” ยุค “รัฐบาล คสช.” ของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.ได้เป็นอย่างดี

แต่ไม่ใช่แค่ “ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ” ในประเทศไทยเท่านั้น ที่ “ตัวเลขชี้วัดตกต่ำ” อย่างแสนสาหัส ล่าสุดพบว่า “นักลงทุนต่างประเทศ” ที่เคยสนใจ “ลงทุนในประเทศไทย” ก็ลดน้อยลงอย่างมากเช่นกัน

โดยเป็นการ “ลดต่ำลง” ทั้งจำนวน “โครงการ” และ “มูลค่าเงินลงทุน” เกือบ 100% เต็ม !

ล่าสุด “สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2558 (มกราคม-กุมภาพันธ์)”ที่จัดทำโดย “กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ” สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) หรือ BOI ได้รายงานสถานการณ์การยื่นขอส่งเสริมของโครงการลงทุนในประเทศไทย ในช่วงเดือน มกราคม- กุมภาพันธ์ 2558 พบว่า สถิติการยื่นขอส่งเสริมของโครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในปี 2558 (มค.- กพ.) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2557 ในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนลดลงร้อยละ 58.6 และ 94.0 ตามลำดับ

โดยในเดือน “มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557” มีจำนวนโครงการ ที่ยื่นขอส่งเสริมของโครงการลงทุน ทั้งสิ้น “121 โครงการ” ขณะที่ในเดือน “มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558”กลับมีเพียง “ 50 โครงการ” เท่านั้น ซึ่งเท่ากับว่า จำนวนโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุน “ลดต่ำลง” คิดเป็น -58.6%

ในส่วน “มูลค่าเงินลงทุน” ของ โครงการที่ยื่นขอส่งเสริมของโครงการลงทุน ในเดือน “มกราคม-กุมภาพันธ์ 2557” เป็นจำนวนถึง 47,496 ล้านบาท แต่โครงการที่ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนมนเดือน “มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558” กลับเหลือเพียง 2,860 ล้านบาท ซึ่งนับว่า “ลดต่ำลง” คิดเป็น -94.0%

ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่า “มูลค่าเงินลงทุน” ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557 เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน “มูลค่าเงินลงทุน” ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 แตกต่างกันมากกว่า 44,636 ล้านบาท

นอกจากนี้ “สถิติการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ รายเดือนสะสมปี 2558 (มกราคม-กุมภาพันธ์)” ที่จัดทำโดย “กองความร่วมมือการลงทุนต่างประเทศ สำนักงานบีโอไอ” ยังระบุว่า

ญี่ปุ่น : มีโครงการยื่นขอส่งเสริม 15 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 657 ล้านบาท จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนลดลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 75.4 และ 96.2 ตามลำดับ

สหรัฐฯ : มีโครงการยื่นขอส่งเสริม 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 25 ล้าน บาท จำนวนโครงการเท่ากันกับปีก่อนหน้า ส่วนมูลค่าเงินลงทุนลดลง ร้อยละ 99.7

ยุโรป : มีโครงการยื่นขอส่งเสริม 8 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 293 ล้านบาท จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนลดลงลดลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 53.0 และ ร้อยละ 90.5 ตามลำดับ

อาเซียน : มีโครงการยื่นขอส่งเสริม 7 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 257 ล้านบาท จำนวนโครงการและมูลค่าเงินลงทุนลดลงจากปีก่อนหน้า ร้อยละ 56.3 และ 90.7 ตามลำดับ



































ooo

งามหน้า “รัฐบาลทหาร”! เหตุ “รุนแรงใต้” ทำเศรษฐกิจอ่วมทั้งภาค “ไตรมาส 2”ทรุดอีก สินค้าเกษตรตกต่ำ-กำลังซื้อหดหาย


ที่มา เวป ที่นี่และที่นั่นวันนี้
April 27, 2015

สัปดาห์ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับภาคเอกชนถึงสถานการณ์ “ส่งออก” ของประเทศไทยในปี 2558 ภายหลังเกิดวิกฤตอย่างหนักในการส่งออกสินค้าไทยไปในต่างประเทศ เนื่องจากผลงานด้านต่างๆ ของ “คสช.” และ “รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ที่ออกมา ส่งผลให้ “ประเทศคู่ค้า” และ “ตลาดการค้า” ขนาดใหญ่ของไทย ทั้งยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างออกมาตรการกีดกันทางการค้า “สินค้าไทย”

โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ส่อว่าจะเป็นผลผลิตจาก “การละเมิดสิทธิมนุษยชน” และ “แรงงานทาส” ที่ถูกกล่าวขานมากสำหรับประเทศไทย

ล่าสุด ที่ประชุมร่วม “กระทรวงพาณิชย์” กับ “ภาคเอกชนไทย” ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวและคาดว่าในไตรมาสแรกการส่งออกของไทยจะติดลบ ส่วนตัวเลขการส่งออกทั้งปีก็จะมีการปรับประมาณการใหม่โดยลดลงจาก 4% และอยู่ในระดับเพียง 1% เท่านั้น

ซึ่งเป็นผลให้ “ความเชื่อมั่น” ในเศรษฐกิจไทย ของภาคเอกชนต่างๆ สั่นสะเทือนอย่างหนัก และกลายเป็นกระแสข่าวที่ค่อนข้างจะดังครึกโครมในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

แม้สัปดาห์ก่อนที่ “กระทรวงพาณิชย์” จะ “ปรับลดตัวเลขส่งออก” ดังกล่าว “รัฐบาล คสช.” ซึ่งนำโดย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เพิ่งจะนำคณะรัฐมนตรี “แถลงผลงานรัฐบาล” ด้วยการตะโกนปาวๆ ว่า “เศรษฐกิจไทยดี” แน่นอน

ล่าสุดปรากฎว่า “กลุ่มวัฎจักรเศรษฐกิจการค้า กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์” ได้สรุป “รายงานดัชนีคาดการณ์ภาวะธุรกิจ ไตรมาสที่ 2/2558 (เมษายน – มิถุนายน 2558)” เอาไว้ว่า “ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในไตรมาสที่ 2/2558 ยังคงชะลอตัว โดยยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออกที่หดตัว และราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ”

โดยระบุว่า “จากผลการสํารวจภาวะธุรกิจในไตรมาสที่ 1 ปี 2558 ในช่วงเดือนมีนาคม 2558 จากผู้ประกอบการจํานวน 1,860 ราย พบว่า ดัชนีภาวะธุรกิจ มีค่า 42.0 ต่ำกว่าไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งมีค่า 44.1 ค่าดัชนียังตํ่ากว่าที่ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการยังไม่มีความเชื่อมั่น เนื่องจากมีความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การส่งออกชะลอตัว อํานาจซื้อของประชาชนลดลง จากค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาสินค้าเกษตรตกตํ่า และปัญหาภัยแล้งส่งผลต่อภาคเกษตรกรรม”

นอกจากนี้ “ผลสำรวยภาวะธุรกิจรายภาค” ยังพบว่า “จากภาวะธุรกิจรายภาคต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่า ผู้ประกอบการในทุกภาค มีค่าต่ำกว่า ระดับ 50 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกหดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก และภาวะภัยแล้ง ซึ่งส่งผลต่อภาคเกษตรกรรม ทําให้กําลังซื้อของผู้บริโภคลดลงสําหรับการคาดการณ์อีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอลง ยกเว้นภาคกลาง ที่ค่าดัชนีปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคใต้ ค่าดัชนีต่ำกว่าระดับ 50 แสดงถึงความไม่เชื่อมั่นต่อ เศรษฐกิจ ผลจากความรุนแรงในพื้นที่”

โดย ผู้ประกอบการ มี “ความคิดเห็น” ว่า

1. ราคาสินค้าทางการเกษตรตกต่ำ ทั้ง ข้าว ยางพารา และ ไข่ไก่

2. ผู้บริโภคขาดกำลังซื้อ ภาวะเศรษฐกิจซบเซา

3. ภาวะภัยแล้ง ส่งผลต่อปริมาณ และคุณภาพของสินค้าเกษตร

4. ค่าเงินบาทแข็งค่า และไม่มีเสถียรภาพ

5. การแข่งขันสูง ทําให้ยอดขายลดลง

6. ธุรกิจขาดสภาพคล่อง โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

พร้อมกับมี “ข้อเสนอแนะ” ว่า

1. รัฐบาลควรแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และเร่งดําเนินการตามนโยบายให้เป็นรูปธรรม

2. แก้ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เพื่อให้ภาคเกษตรกระเตื้องขึ้น

3. ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้มีความผันผวน

4. แก้ปัญหาค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค – บริโภค

5. ควรให้ธนาคารพาณิชย์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ และปล่อยเงินกู้ให้แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ง่ายขึ้น เพื่อส่งเสริมการลงทุน

6. กระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งเสริมสินค้า OTOP ให้มีสถานที่จําหน่ายมากขนึ้

7. ให้ความสําคัญและสนับสนุนภาคส่งออก โดยลดขั้นตอน และพิธีการส่งออกให้สั้นลง (One Stop Service) พร้อมทั้ง หาตลาดส่งออกให้มากขึ้น